วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

จิตศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เป้าหมายของจิตศึกษา เพื่อให้นักเรียนเห็นอกเห็นใจผู้อื่น กิจกรรมจากที่สังเกต ๑. นักเรียนทุกคนนั่งเป็นวงกลม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับทำกิจกรรม ๒. ครูพานักเรียนเตรียมความพร้อมโดยการฝึกบริการสติผ่านท่าทาง ต่างๆ เริ่มจาก มือ ๒ ข้างตีที่หน้าขา แล้วนับ ไขว้มือบนล่าง ตั้งไข่มือบนล่าง แตะจมูก ตา ปาก สลับกัน ๓. ครูเริ่มแจกรูปภาพ เป็นภาพน้ำท่วม กับภาพคุณยายเดินแบกกระสอบเสื้อผ้า ๔. นักเรียนค่อยส่งภาพไปทางขวามือและซ้ายมือ แล้วทุกคนดูแล้วพิจารณา โดยที่ครูยังไม่พูดอะไร ๕. นักเรียนทุกคนดูภาพเสร็จ ครูยิงคำถามแล้วให้นักเรียนแชร์ โดยถามว่า นักเรียนเห็นอะไรในภาพ แล้วนักเรียนรู้สึกอย่างไร ๖. ครูให้นักเรียนทุกคนตั้งคำถามจากภาพ โดยที่ครูไม่บอกว่าใช่หรือไม่ เพียงแต่ชืนชม ยินดี ๗. นักเรียนช่วยคำถามที่อยากตอบ และได้ฝึกจิตศึกษา ต่อ • นอนหงายอย่างผ่อนคลาย ปลายเท้าแยกจากกันเล็กน้อย วางแขนไว้ข้างลำตัวอย่างสบายๆ หงายฝ่ามือขึ้น หลับตาลงเบาๆ • อาจเปิดเพลงบรรเลงที่มีท่วงทำนองผ่อนคลายและช่วยให้จิตใจสงบคลอเบาๆ • พูดน้อมนำจินตนาการ ให้ผ่อนคลายร่างกายไปทีละส่วน โดยใช้เสียงนุ่มนวล ปรับโทนเสียงให้ต่ำเล็กน้อย พูดเป็นจังหวะเนิบช้า เว้นวรรคเป็นช่วงๆ และลากปลายเสียงให้ยาวขึ้น เพื่อปรับคลื่นสมองให้ช้าลงและเข้าสู่ภาวะผ่อนคลายได้ง่าย • อาจเริ่มจากการกล่าวว่า ขณะหายใจเข้า-ออก ให้ระลึกรู้ถึงร่างกายทั้งหมดที่นอนราบลง รู้สึกถึงร่างกายทุกส่วนที่สัมผัสพื้นหรือเตียง ปล่อยวางความเครียด ความกังวลทั้งหลายทั้งปวง ไม่ยึดเหนี่ยวสิ่งใดไว้ แล้วให้ระลึกรู้ลมหายใจเข้าและออกอย่างมีสมาธิสักพักหนึ่ง • หายใจเข้า ให้ระลึกรู้ที่เท้าทั้งสองข้าง... หายใจออก ผ่อนคลายเท้าทั้งสองให้รู้สึกเบา สบาย... หายใจเข้า ส่งความรักและปรารถนาดีไปให้... หายใจออก ส่งรอยยิ้ม ความรู้สึกซาบซึ้งใจ และคำขอบคุณไปให้เท้าทั้งสองที่ยืนหยัดเพื่อเราเสมอ • พูดนำให้ระลึกรู้และผ่อนคลายอวัยวะทุกส่วน โดยอาจเริ่มจากปลายเท้า ขึ้นมาที่ขาทั้งสองข้าง สะโพก ลำตัว แผ่นหลัง บ่าทั้งสองข้าง แขน ฝ่ามือ ต้นคอ ขึ้นไปที่ศีรษะ เริ่มจากคาง ริมฝีปาก แก้ม เบ้าตา หว่างคิ้ว หน้าผาก จนทั่วทั้งใบหน้า (หรืออาจไปถึงกลางกระหม่อมด้วย แล้วแต่เราจะกำหนดการระลึกรู้อวัยวะส่วนต่างๆ อย่างละเอียดแค่ไหน) ให้รู้สึกว่าร่างกายทุกส่วนผ่อนคลาย เบา สบาย • หากในขณะนั้นมีส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายป่วยหรือเจ็บปวดอยู่ ให้ใช้เวลาระลึกรู้ถึงส่วนนั้น แล้วส่งความรักไป • หายใจเข้า... ให้ส่วนนี้ได้พัก หายใจออก... ยิ้มให้ด้วยความรักความปรารถนาดีอย่างจริงใจ ระลึกรู้ว่ายังมีส่วนอื่นๆ ของร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์อยู่ ซึ่งพร้อมจะส่งพลังมายังส่วนที่อ่อนแอหรือเจ็บป่วย ให้รู้สึกว่ามีพลังความรักความเกื้อหนุนจากส่วนอื่นๆ ของร่างกาย (และจากผู้คนที่แวดล้อม) แผ่ซ่านเข้ามาช่วยบรรเทาและเยียวยาบริเวณที่อ่อนแอนี้ • หายใจเข้า... เชื่อมั่นในความสามารถที่จะเยียวยาของตนเอง หายใจออก... ปล่อยความวิตกกังวล หรือความกลัวที่อาจเกาะกุมอยู่ในตัวออกไป หายใจเข้า-ออก... ยิ้มให้แก่ร่างกายส่วนที่ไม่สบาย ด้วยความรักความเชื่อมั่น • อาจพูดนำจินตนาการให้นึกถึงธรรมชาติที่งดงาม เช่น ทุ่งหญ้าเขียวขจี ฟ้าใส สายน้ำกว้างใหญ่ ฯลฯ ที่จะช่วยให้ใจสงบ เพื่อน้อมนำให้รับพลังชีวิตจากธรรมชาติมาเยียวยาตัวเราก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น