วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ตารางการวิเคราะห์ มฐ. และตัวชี้วัด

ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหัวเรื่องโครงงานกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เรื่อง Beautiful World by Our Hand (โลกสวยด้วยมือเรา ) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์(อสพป 25) Quarter 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาฯ ประวัติศาสตร์ การงานอาชีพฯ ศิลปะ สุขศึกษาและพลานามัย สร้างฉันทะและแรง บันดาลใจในการเรียนรู้ มาตรฐาน ว2.1 สืบค้นข้อมูลเข้าใจอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในแต่ละพื้นถิ่น (ว2.1 ป.6/3) สืบค้นข้อมูลเข้าใจและเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ วิเคราะห์ผลการเพิ่มลดของประชากรมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นถิ่น(ว2.2 ป.6/5) มาตรฐาน ว3.2 เข้าใจและอธิบายการเปลี่ยนแปลงสถานะของสารที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงของสาร (ว3.2ป6/3) มาตรฐาน ว8.1 แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระอธิบายและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้นำเสนอจัดแสดงผลงานสามารถอธิบายกระบวนการให้ผู้อื่นเข้าใจ (ว 8.1 ป.5/8) มาตรฐาน ส5.1 เข้าใจรู้ตำแหน่ง(พิกัด ภูมิศาสตร์ ละติจูด ลองจิจูด )ระยะทิศทางของภูมิภาคตนเองนำเสนอข้อมูลให้ผู้อื่นเข้าใจได้(ส5.1 ป5/1) มาตรฐาน ส2.1 เข้าใจและปฏิบัติตามหน้าที่ของพลเมืองที่ดีติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน(ส2.1 ป6/5) มาตรฐาน ส4.1 เข้าใจความหมายสามารถอธิบายข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เรื่องราวที่สำคัญในอดีต (ส4.1 ป6/2) มาตรฐาน ง1.1 เข้าใจการทำงาน มีทักษะกระบวนการทักษะแสวงหาความรู้มีจิตสำนึกในการใช้พลังงานและทรัพยากรที่มีอยู่บนโลกอย่างประหยัดและคุ้มค่า (ง1.1 ป5/4) มาตรฐาน ศ1.2 เข้าใจอธิบายเห็นคุณค่าสะท้อนวิถีชีวิตวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเองได้ (ศ1.2 ป5/2) มาตรฐาน พ4.1 สามารถอธิบายเข้าใจและเห็นคุณค่า ค้นหา ข้อมูลข่าวสารปฏิบัติตนในการป้องกันโรคที่พบบ่อยในชีวิตประจำวัน(พ4.1ป5/4) สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาฯ ประวัติศาสตร์ การงานอาชีพฯ ศิลปะ สุขศึกษาและพลานามัย กระบวนการได้มาซึ่งหัวข้อและกิจกรรมการเรียนโครงงาน มาตรฐาน ว8.1 เข้าใจและสามารถใช้กระบวนการในการสืบเสาะ หาข้อมูล แก้ปัญหาตั้งคำถาม เกี่ยวกับประเด็นเรื่องหรือสถานการณ์ที่กำหนดให้และความสนใจสามารถสร้างคำถามใหม่เพื่อการสำรวจตรวจสอบต่อไป (ว8.1 ป5/1) มาตรฐาน ส2.1 เข้าใจและเห็นคุณค่าวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในสังคมไทย (ส2.1 ป5/3) มาตรฐาน ส5.1 รู้และเข้าใจอธิบายความสัมพันธ์ของลักษณะทางกายภาพกับลักษณะทางสังคมในภูมิภาคของตนเองได้ (ส5.1 ป5/3) มาตรฐาน ส4.1 เข้าใจและสามารถอธิบายสืบค้นความเป็นมาของท้องถิ่นโดยใช้หลักฐานที่หลากหลาย (ส4.1 ป5/1) เข้าใจและนำเสนอข้อมูลจากหลักฐานที่หลากหลายมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวสำคัญในอดีต(ส4.1 ป6/2) มาตรฐาน ง1.1 เข้าใจในการทำงานมีความคิดสร้างสรรค์อธิบายเหตุผลในการทำงานแต่ละขั้นตอนถูกต้องตามกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบประณีตและมีความคิดสร้างสรรค์ (ง1.1 ป5/1) มาตรฐาน ศ1.2 รู้เข้าใจความสัมพันธ์ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมระบุและบรรยายเกี่ยวกับแบบงานทัศนศิลป์ในแหล่งเรียนรู้หรือนิทรรศการศิลปะและมองเห็นคุณค่า (ศ1.2 ป5/1) มาตรฐาน พ3.2 เข้าใจปฏิบัติตนเองตามสิทธิไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่นและยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเล่นวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างตนเองและผู้อื่น (พ3.2 ม1/6) สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาฯ ประวัติศาสตร์ การงานอาชีพฯ ศิลปะ สุขศึกษาและพลานามัย - ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกำเนิดโลกและจักรวาล - สภาพอากาศและการเกิดฤดูกาล มาตรฐาน ว2.1 - สืบค้นข้อมูลเข้าใจและอธิบายความสัมพันธ์ของการกำเนิดโลกที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในแต่ละพื้นถิ่น(ว2.1 ป6/1) - เข้าใจและสามารถอธิบายหรืออธิบายหรือวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคต่างๆที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งที่มีชีวิตในปัจจุบัน (ว3.2 ป6/2) มาตรฐาน ส5.1 - เข้าใจรู้ตำแหน่ง(พิกัด ภูมิศาสตร์ ละติจูด ลองจิจูด )ระยะทิศทางของภูมิภาคตนเองนำเสนอข้อมูลให้ผู้อื่นเข้าใจได้ (ส5.1 ป5/1) - เข้าใจระบุลักษณะภูมิลักษณ์ที่สำคัญในภูมิภาคของตนเองในแผนที่ (ส5.1 ป5/2) มาตรฐาน ส4.1 - เข้าใจและสามารถอธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของการกำเนิดโลกโดยใช้วิธีทางประวัติศาสตร์และนำเสนอข้อมูลให้ผู้อื่นเข้าใจได้(ส4.1 ป6/1) - เข้าใจและสามารถรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการกำเนิดโลกจากแหล่งต่างๆและสามารถอธิบายหรือตอบคำถามได้อย่างมีเหตุผล (ส4.1ป5/2) มาตรฐาน ง1.1 เข้าใจการทำงานสร้างสรรค์อธิบายเหตุผลในการทำงานแต่ละขั้นตอนถูกต้องตามกระบวนการทำงานใช้ทักษะการทำงานอย่างเป็นระบบประณีตและมีความคิดสร้างสรรค์ (ง1.1 ป5/1) มาตรฐาน ศ1.1 เข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับจังหวะตำแหน่งของสิ่งต่างๆที่ปรากฏในสิ่งแวดล้อมการสร้างงานเปรียบเทียบความแตกต่างใช้เทคนิคของแสงเงา น้ำหนัก ส่วนประกอบของสิ่งต่างๆในโลกได้ (ศ1.1 ป5/1) มาตรฐาน พ2.1 เข้าใจและเห็นความสำคัญของการสร้างและรักษาสัมพันธ์ภาพของผู้อื่น (พ2.1 ป6/1) เข้าใจและอธิบายการเปลี่ยนแปลงปฏิบัติตนได้เหมาะสม (พ2.1 ป5/1) สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาฯ ประวัติศาสตร์ การงานอาชีพฯ ศิลปะ สุขศึกษาและพลานามัย ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติ เช่น ลมบก ลมทะเล สุริยุปราคา จันทรุปราคา ข้างขึ้น ข้างแรม ฝนดาวตก มาตรฐาน ว7.1 - สืบค้นและเข้าใจสามารถสร้างแบบจำลองอธิบายการเกิดฤดูกาล ข้างขึ้น ข้างแรม สุริยุปราคา จันทรุปราคาและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์(ว7.1 ป6/1) - เข้าใจกระบวนการการอธิบายการเกิดลมบกลมทะเลและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (ว6.1 ป5/4) มาตรฐาน ส5.2 สืบค้นและเข้าใจปฏิสัมพันธ์และสามารถอธิบายอิทธิพลของการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ก่อให้เกิดวิถีชีวิตและการสร้างสรรค์วัฒนธรรมในภูมิภาคพื้นถิ่นตนเองได้ (ส5.2ป5/2) มาตรฐาน ส4.1 เข้าใจและสามารถรวบรวมข้อมูลจากอดีตในแหล่งต่างๆเพื่อเปรียบเทียบตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันอย่างมีเหตุผล(ส4.1 ป5/2) มาตรฐาน ง1.1 เข้าใจการทำงานใช้ทักษะอธิบายการทำงานอย่างมีเหตุผลทำงานแต่ละขั้นตอนตอนถูกต้องตามกระบวนการทำงานและสามารถสร้างผลงานออกมาเป็นระบบประณีตและมีความคิดสร้างสรรค์ (ง1.1ป5/1) มาตรฐาน ศ1.1 เข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับจังหวะตำแหน่งของสิ่งต่างๆที่ปรากฏในสิ่งแวดล้อมและงานเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างงานและใช้เทคนิคของแสงเงาและวรรณะสี (ศ1.1 ป5/3) มาตรฐาน พ2.1 เห็นความสำคัญของการทำงานร่วมกับผู้อื่นมีน้ำใจและรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้อื่นได้(พ2.1ป6/1) สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาฯ ประวัติศาสตร์ การงานอาชีพฯ ศิลปะ สุขศึกษาและพลานามัย ความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ( ภาวะเรือนกระจก ) สาเหตุ ผลกระทบและวิธีช่วยลดภาวะโลกร้อน / มลพิษต่างๆ นั้น มาตรฐาน ว3.2 - เข้าใจและอธิบายการเปลี่ยนแปลงสมบัติของสารที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกและภาวะโลกร้อนที่ก่อให้เกิดผลต่อสิ่งแวดล้อม(ว3.2ป6/3) มาตรฐาน ว6.1 เข้าใจกระบวนการสืบค้นวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากการพยากรณ์อากาศต่อผลการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อม (ว6.1ม1/4) มาตรฐาน ส3.1 เข้าใจและอธิบายบทบาทของผู้ผลิตที่มีต่อความรับผิดชอบสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและบริโภคใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพบอกวิธีและประโยชน์ของการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน(ส3.1ป6/1,3) มาตรฐาน ส4.1 เข้าใจและอธิบายความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์ค้นหาข้อมูลนำเสนอข้อมูลจากหลักฐานที่หลากหลายทราบถึงภาวะเรือนกระจกและโลกร้อนในอดีต (ส4.1ป6/2) มาตรฐาน ส4.2 เข้าใจและอธิบายสภาพสังคมเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศและร่วมกันป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อนจากภาวะเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน (ส4.2ป6/1) มาตรฐาน ง3.1 เข้าใจเห็นคุณค่าและสืบค้นข้อมูลที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์เพื่อช่วยแก้ไขภาวะโลกร้อนจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือตามวัตถุประสงค์และสามารถสร้างงานเอกสารเพื่อใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันด้วยความรับผิดชอบ (ง3.1ป5/2) มาตรฐาน ศ1.1 สร้างสรรค์งานตามจินตนาการสามารถบรรยายประโยชน์และคุณค่างานทัศนศิลป์ที่มีผลต่อชีวิตของคนในสังคม (ศ1.1 ป5/7) มาตรฐาน พ4.1 เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพปฏิบัติตนในการป้องกันโรคที่พบบ่อยในชีวิตประจำวันและโรคที่มีผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเช่นภาวะโลกร้อน (พ4.1 ป5/4) สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาฯ ประวัติศาสตร์ การงานอาชีพฯ ศิลปะ สุขศึกษาและพลานามัย ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และวิธีการอนุรักษ์ มาตรฐาน ว2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่นประเทศโลก(ว2.2ป6/1) สืบค้นและอภิปรายแหล่งทรัพยากรธรรม ชาติที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของตนเองในพื้นถิ่นการเปลี่ยนแปลงทั้งโดยธรรมชาติและโดยมนุษย์(ว2.2ป6/3) อภิปรายแนวทางในการดูแลรักษาทรัพยากร ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม(ว2.2ป6/4)ยังมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาด้วย (ว2.2ป6/5) มาตรฐาน ส5.1 เข้าใจรู้ตำแหน่งพิกัด ภูมิศาสตร์ ละติจูด ลองจิจูด ระยะ ทิศทางของภูมิภาคตนเอง ระบุภูมิลักษณ์ที่สำคัญ (ส5.1ป5/1) อธิบายความสัมพันธ์ของลักษณะทางกายภาพกับลักษณะทางสังคมของตนเองและอธิบายหรือนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ (ส5.1ป5/2) มาตรฐาน ส4.1 เข้าใจสืบค้นความเป็นมาของลักษณะทางท้องถิ่นรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพื่อตอบคำถามทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับทรัพยากรในอดีตถึงปัจจุบัน(ส4.1ป5/1)สามารถบอกถึงวิธีอนุรักษ์ธรรมชาติให้ผู้อื่นเข้าใจได้ (ส4.1ป5/2) มาตรฐาน ง1.1 เข้าใจการทำงานมีความคิดสร้างสรรค์อธิบายเหตุผลในการทำงานแต่ละขั้นตอนถูกต้องตามกระบวนการทำงาน (ง1.1ป5/1) ใช้ทักษะการจัดการอย่างเป็นระบบประณีตและมีความคิดสร้างสรรค์ (ง1.1ป5/2) มาตรฐาน ศ1.1 เข้าใจและสามารถสร้างสรรค์ผลงานวาดภาพโดยใช้เทคนิคของแสงเงาน้ำหนักและวรรณะสี(ศ1.1ป5/3)สร้างงานทัศนศิลป์เป็นแผนภาพแผนผังและภาพประกอบเพื่อถ่ายทอดความคิดหรือเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆได้ (ศ1.1ป6/7) มาตรฐาน พ5.1 เข้าใจและวิเคราะห์ผลกระทบจากความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่มีต่อร่างกายจิตใจและสังคม(พ5.1 ป6/1) ระบุวิธีปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยจากภัยธรรมชาติและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพหากทรัพยากรและการอนุรักษ์ไม่เพียงพอ (พ5.1 ป6/2) สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาฯ ประวัติศาสตร์ การงานอาชีพฯ ศิลปะ สุขศึกษาและพลานามัย ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ มาตรฐาน ว.2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติอภิปรายผลต่อสิ่งมีชีวิตจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทั้งโดยธรรมชาติและโดยมนุษย์(ว2.2 ป6/3) มาตรฐาน ว3.1 เข้าใจคุณสมบัติของสารทดลองและอธิบายวิธีแยกสารบางชนิดโดยการร่อน การตกตะกอน การกรอง การระเหิด การระเหยแห้ง อันก่อให้เกิดภัยธรรมชาติตามมา (ว3.1 ป6/3) มาตรฐาน ว6.1 เข้าใจกระบวนการการทดลองอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิความชื้นและความกดอากาศที่มีผลต่อปรากฏการณ์ทางลมฟ้า อากาศ สังเกตวิเคราะห์การเกิดที่มีผลต่อมนุษย์ (ว6.1 ม.1/2) มาตรฐาน ส.51 เข้าใจและสืบค้นสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ (ส.51 ป.6/2) เข้าใจวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อมทางสังคม (ส5.2 ป6/1) อธิบายการเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติในอดีตถึงปัจจุบันและผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง(ส5.2 ป6/2) มาตรฐาน ส4.1 เข้าใจสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพื่อตอบคำถามทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่ได้เกิดขึ้นมาจากอดีตจนถึงปัจจุบันและวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆอย่างเป็นระบบ (ส4.1 ป5/2) มาตรฐาน ง3.1 เข้าใจสืบค้นข้อมูลสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูล (ง3.1 ป6/2) เข้าใจ ค้นหา รวบรวมข้อมูลที่สนใจและเป็นประโยชน์สร้างความเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับภัยธรรมชาติจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่เชื่อถือได้ตรงตามวัตถุประสงค์ (ง3.1 ป5/1) มาตรฐาน ศ1.1 เข้าใจและสามารถสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์บรรยายเกี่ยวกับจังหวะตำแหน่งของสิ่งต่างๆที่ปรากฏในสิ่งแวดล้อมวาดภาพโดยใช้เทคนิคแสงเงา น้ำหนัก วรรณะสี (ศ1.1 ป5/3) มาตรฐาน พ4.1 เห็นคุณค่าเข้าใจและมีทักษะปฏิบัติตนในการป้องกันโรคที่พบบ่อยในชีวิตประจำวันตลอดจนโรคที่มาจากภัยธรรมชาติด้วย (พ4.1 ป5/4) มาตรฐาน พ5.1 ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงสามารถระบุวิธีปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ (พ5.1 ป6/2) สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาฯ ประวัติศาสตร์ การงานอาชีพฯ ศิลปะ สุขศึกษาและพลานามัย โลกและการเปลี่ยนแปลงในอนาคต มาตรฐาน ว6.1 เข้าใจกระบวนการสืบค้นวิเคราะห์และแปลข้อมูลจากการพยากรณ์อากาศและวิเคราะห์ถึงแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงในอนาคตของโลก (ว6.1 ม1/4) มาตรฐาน ว8.1 เข้าใจและสามารถอธิบายผลการสำรวจตรวจสอบตามความเป็นจริงมีการอ้างอิง (ว8.1 ป5/7) มาตรฐาน ส5.2 เข้าใจวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอธิบายการเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน(ส5.2 ป6/1) ผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้นและจัดทำแผนการใช้ทรัพยากรในชุมชนเพื่ออนาคตได้ (ส5.2 ป6/3) มาตรฐาน 4.1 เข้าใจความหมายตระหนักถึงความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของมนุษยชาติในอนาคต (ส4.1 ม4/2) มาตรฐาน ส4.2 เข้าใจพัฒนาการวิเคราะห์สถานการณ์ของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21 (ส4.2 ม4/4) มาตรฐาน ง1.1 เข้าใจมีความคิดสร้างสรรค์มีจิต สำนึกในการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัดคุ้มค่าและตระหนักถึงอนาคตที่จะเกิดขึ้น (ง1.1 ป5/4) มาตรฐาน ง2.1 เข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการนำความรู้การสร้างงาน ชิ้นงานไปประยุกต์ในการสร้างสิ่งของเครื่องใช้เลือกใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ต่อชีวิตสังคม(ง2.1 ป5/3) มีการจัดการสิ่งของเครื่องใช้ด้วยการแปรรูปและนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อลดการใช้ทรัพยากรที่ฟุ่มเฟือย (ง2.1 ป5/5) มาตรฐาน ศ1.1สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์จากเทคนิคที่หลากหลายสร้างสรรค์ด้วยการพิมพ์ภาพโดยเน้นการจัดวางตำแหน่งของสิ่งต่างๆในภาพ (ศ1.1 ป5/4) มาตรฐาน พ4.1 เห็นคุณค่าและปฏิบัติตนในการป้องกันโรคที่จะมาจากการเปลี่ยนของสภาวะต่างๆของโลกอนาคต (พ4.1 ป5/4) เข้าใจและใช้บริการทางสุขภาพ วิเคราะห์ผลของเทคโนโลยีต่อสุขภาพความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ในอนาคตที่จะเกิดขึ้น (พ4.1 ม2/3) สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาฯ ประวัติศาสตร์ การงานอาชีพฯ ศิลปะ สุขศึกษาฯ การวางแผนนำเสนอ มาตรฐาน ว 1.2เข้าใจกระบวนการและความสำคัญวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต สำรวจและอธิบายความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงได้อย่างสมบูรณ์ (ว1.2 ม3/4) อธิบายผลของความหลากหลายของชีวภาพที่มีต่อมนุษย์ สัตว์พืชและสิ่งแวดล้อมและนำไปใช้ประโยชน์ (ว1.2 ม3/5) มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการดำรงชีวิตสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมในพื้นถิ่น(ว 2.1 ป.6/3) มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความหมายของทรัพยากรธรรมชาติ วิเคราะห์ อภิปรายและมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของตนได้ ( ว 2.2 ป 6/12345) มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติ อภิปรายการเปลี่ยนแปลงของสารที่ก่อให้เกิดผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม( ว 3.2 ป 6/3) มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก สำรวจและอธิบายการเปลี่ยนแปลง( ว 6.1 ป.6/2 )อธิบายองค์ประกอบความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิความ ชื้นความกดอากาศที่มีผลต่อปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ( ว 6.1 ม.1/2) มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็น หรือเรื่อง หรือสถานการณ์ที่ศึกษา บันทึกข้อมูลในเชิงปริมาณและคุณภาพตรวจสอบกับสิ่งที่คาดการณ์ (ว 8.1 ป5/1.4 ) มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และเผยแพร่งานและช่วยในการอนุรักษ์สิ่งต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบแก่โลก (ส 2.1 ป 5/4) มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจและสามารถบริหารและจัดการทรัพยากร อธิบายบทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิด ชอบบอกประโยชน์ของการใช้ประโยชน์ของการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ( ส 3.1 ป 6/3) มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจ รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อตอบคำถามทางประวัติศาสตร์ อธิบายความแตกต่างระหว่างความจริงเกี่ยวกับเรื่องราวในท้องถิ่น ( ส 4.1 ป.5/2) มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทำงาน ใช้ทักษะการจัดการในการทำงานอย่างเป็นระบบ ประณีต และสร้างสรรค์(ง1.1ป5/2) ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานมีจิตใจในการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า เผยแพร่ อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ (ง1.1ป5/4) มาตรฐาน ศ 2.1 เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิจารณ์ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทำนอง จังหวะ การประสานเสียง และคุณภาพเสียงของเพลงที่ฟัง ( ศ 2.1 ป6/6) มาตรฐาน พ4.1 เห็นคุณค่าและทักษะส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคที่พบบ่อยในชีวิตประจำวัน (พ 4.1 ป5/1) สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาฯ ประวัติศาสตร์ การงานอาชีพฯ ศิลปะ สุขศึกษาและพลานามัย - สรุปและนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับโครงงานการเปลี่ยนแปลงของโลกและธรรมชาติ - การตกผลึกความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้มาทั้งหมด - การนำเสนอโครงงานที่ศึกษาให้ผู้อื่นเข้าใจ มาตรฐาน ว2.2 เข้าใจความสำคัญสืบค้นข้อมูลแหล่งทรัพยากร วิเคราะห์ อภิปรายผลต่อสิ่วมีชีวิตจากการเปลี่ยนแปลงและรักษาดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เผยแพร่และนำเสนอข้อมูลได้ ( ว 2.2 ป 6/4 ) มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจและอภิปรายการเปลี่ยนแปลงของสารที่ก่อให้เกิดผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ( ว 3.2 ป 6/3 ) มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกด้วยวาจาหรือเขียนอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ ( ว 8.1 ป5/8) มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและเผยแพร่ความเข้าใจเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงและดูแลรักษาโลก ( ส 2.1 ป 5/4 ) มาตรฐาน ส 5.1 เข้าใจโลกทางกายภาพ อธิบายความเกี่ยวข้องลักษณะทางกายภาพและภูมิศาสตร์ วิเคราะห์ สรุปได้เข้าใจปฏิสัมพันธ์ นำเสนอตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นผลจากการรักษาและทำลายสภาพแวดล้อมเสนอแนวคิดในการรักษาสภาพแวดล้อมในพื้นถิ่นตนได้ ( ส 5.1 ป 5/3 ) มาตรฐาน ส 4.2 เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตถึงปัจจุบันในด้านความสัมพันธ์และเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น วิเคราะห์เหตุการณ์ที่สำคัญส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโลกในด้านต่าง ๆ ( ส 4.2 ม 4/2 ) มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทำงานสร้างสรรค์ ใช้ทักษะในการทำงานสร้างสารคดีอย่างเป็นระบบประณีตและมีความคิดสร้างสรรค์ มีจิตสำนึกในการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า ( 3 1.1 ป5/4 ) มาตรฐาน ศ 1.1 สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างงานที่สร้างสรรค์ด้วยวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีที่ต่างกัน ( ศ 1.1 ป 5/2 ) มาตรฐาน พ 5.1 ป้องกัน หลีกเลี่ยง วิเคราะห์ผลจากความรุนแรงของภัยธรรมชาติ ระบุความปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ ( พ 5.1 ป 6/2 )

กิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยโครงงาน หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง : Beautiful world by Our hand (โลกสวยด้วยมือเรา)

กิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยโครงงาน หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง : Beautiful world by Our hand (โลกสวยด้วยมือเรา) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ชื่อเรื่อง (Topic): : Beautiful world by Our hand (โลกสวยด้วยมือเรา) ตระหนักถึงปัญหา (Main Idea): การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของโลกทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติเช่น ภาวะโลกร้อน แผ่นดินไหว น้ำท่วม ไฟป่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก ดังนั้นทุกคนจำเป็นต้องเข้าใจและหาแนวทางป้องกันร่วมกัน คำถามหลัก (Big Question): สิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม คน พืช สัตว์ หรือแม้กระทั่งฤดูกาลที่ผันแปรสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบอะไรบ้างและจะมีวิธีป้องกันหรือรณรงค์อย่างไร เป้าหมายของความเข้าใจ ( Understanding Goal ) : 1. อธิบายทฤษฏีกำเนิดโลกได้และการแบ่งทวีป 2. เข้าใจความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อมนุษย์ 3. เข้าใจผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ และวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย 4. วิเคราะห์สาเหตุปัจจัยและแนวทางแก้ไขภาวะโลกร้อน 5. สามารถคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตบนพื้นฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเป็นไปได้ พฤติกรรมที่แสดงถึงความเข้าใจ (Understanding Performance) 1. เข้าใจ : สามารถอธิบายทฤษฎีกำเนิดโลก วิวัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงของโลกจากอดีตถึงปัจจุบันได้ 2. ทำได้ : สามารถแปลความหมาย แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงเข้าสู่ชีวิตจริง การประหยัดและอนุรักษ์ทรัพยากร รวมทั้งนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เช่น Mind Mapping นิทาน การทดลอง การวาดภาพ รวมทั้งการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับวิธีประหยัดหรือลดการใช้พลังงานได้ 3. การแก้ปัญหา: สามารถนำความรู้เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การช่วยประหยัดพลังงาน การใช้กระดาษ และการแยกขยะ 4. เกิดการเปลี่ยนแปลง : สามารถบอกได้ว่าตนเองมีหน้าที่อะไร ควรปฏิบัติตัวอย่างไร มีเป้าหมายในการทำงานแต่ละชิ้นงาน ตั้งใจปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ 5. ซาบซึ้ง : มีความละเอียดอ่อนต่อการลงมือประดิษฐ์ชิ้นงาน การแสดงความชื่นชมผลงานของคนอื่นและรับฟังข้อเสนอแนะได้ การประเมิน(Assessments) : 1.ตรวจไม่เป็นทางการ 2. การสังเกตและการสัมภาษณ์ 3. การทดสอบ 4. การตั้งโจทย์ให้แก้ปัญหา 5. การปฏิบัติ / การลงมือทำ ระยะเวลา : 10 สัปดาห์ (9 ชั่วโมง / สัปดาห์)

“อธิษฐานสิจ๊ะ กับนางฟ้าสีเขียว”

สิ่งได้จากหนังสือ “อธิษฐานสิจ๊ะ กับนางฟ้าสีเขียว” วิเชียร ไชยบัง. อธิษฐานสิจ๊ะ กับนางฟ้าสีเขียว. บุรีรัมย์ : โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา,2552. ผมเคยได้ยินชื่อ อาจารย์วิเชียร ไชยบัง มาเป็นระยะหนึ่งแล้ว แต่ไม่มีโอกาสได้อ่านหนังสือที่ท่านเขียน ผมที่ได้เดินทางมาที่โรงเรียนลำปลายมาศครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๓ และครั้งนี้เอง อาจารย์วิเชียรก็เลยมอบหนังสือให้ 1 เล่ม มอบให้ทุกคนที่มาร่วมอบรมในครั้งนี้ “อธิฐานสิจ๊ะ กับนางฟ้าสีเขียว” โดยวิเชียร ไชยบัง จากสำนักพิมพ์โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ 118 หน้าเท่านั้นเองครับ เขียนคล้ายๆ กับนิทานสำหรับเด็กเลย แต่คำโปรยหน้าหนังสือบอกว่าเป็น “วรรณกรรมที่ถ่ายทอดเรื่องรายจากอีกมุมหนึ่งของโรงเรียนนอกกะลา” ผมเลยหยิบขึ้นมาอ่านแล้วเปิดอ่านแค่ตอนแรกก็ประทับใจ “ผมเป็นอะไรได้หลายอย่าง” ก่อนที่จะเดินทางมาที่นี้ผมได้ศึกษาประวัติของโรงเรียนแห่งมาบ้างแล้วและคิดว่าถ้าไม่รู้เรื่องโรงเรียนนอกกะลามาก่อนที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้ อาจจะเข้าถึงสิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อได้ยากสักหน่อย แต่ไม่เป็นไรหรอกครับ บางทีการไม่มีข้อมูลใดๆ มาก่อน อาจจะทำให้ไม่เกิดการคาดหวังและการตัดสิน จึงอาจจะได้เห็นสิ่งอื่นๆ ที่ซ่อนอยู่ หรือแนวคิดใหม่ๆ ที่คนอื่นมองไม่เห็นก็ได้ เหมือนกับที่ในหนังสือบอกไว้ว่า อนาคตคือสิ่งที่เราไม่รู้ มันจะมีความหมายก็ต่อเมื่อเราไม่รู้เท่านั้นแหละ “ผมเป็นอะไรได้หลายอย่าง” แค่ชื่อตอนก็สะดุดหูแล้วครับ มันทำให้สะท้อนถึงตัวเองในฐานะครู ที่ต้องเป็นเหมือนนักแสดง ต้องแสดงได้หลายบทบาท ทั้งพระเอก ตัวร้าย คุณพ่อ ตำรวจ ชาวนา อะไรอีกเยอะแยะมากส่วนเด็กๆของผมก็เป็นดาราด้วย ร่วมกันแสดงแล้วบทบาทตามความถนัดของตัวเอง เราจะเห็นว่าเด็กๆมีจินตนาการ มีความคิด เราจะไม่ปิดกั้นความคิดของเด็กๆ ปล่อยให้เขาได้โลดเล่นไปในจินตนาการของเขาให้ได้มากที่สุด มันจะทำให้เด็กๆทุกคนมีความสุข เห็นคุณค่าของตนเอง

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

จิตศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เป้าหมายของจิตศึกษา เพื่อให้นักเรียนเห็นอกเห็นใจผู้อื่น กิจกรรมจากที่สังเกต ๑. นักเรียนทุกคนนั่งเป็นวงกลม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับทำกิจกรรม ๒. ครูพานักเรียนเตรียมความพร้อมโดยการฝึกบริการสติผ่านท่าทาง ต่างๆ เริ่มจาก มือ ๒ ข้างตีที่หน้าขา แล้วนับ ไขว้มือบนล่าง ตั้งไข่มือบนล่าง แตะจมูก ตา ปาก สลับกัน ๓. ครูเริ่มแจกรูปภาพ เป็นภาพน้ำท่วม กับภาพคุณยายเดินแบกกระสอบเสื้อผ้า ๔. นักเรียนค่อยส่งภาพไปทางขวามือและซ้ายมือ แล้วทุกคนดูแล้วพิจารณา โดยที่ครูยังไม่พูดอะไร ๕. นักเรียนทุกคนดูภาพเสร็จ ครูยิงคำถามแล้วให้นักเรียนแชร์ โดยถามว่า นักเรียนเห็นอะไรในภาพ แล้วนักเรียนรู้สึกอย่างไร ๖. ครูให้นักเรียนทุกคนตั้งคำถามจากภาพ โดยที่ครูไม่บอกว่าใช่หรือไม่ เพียงแต่ชืนชม ยินดี ๗. นักเรียนช่วยคำถามที่อยากตอบ และได้ฝึกจิตศึกษา ต่อ • นอนหงายอย่างผ่อนคลาย ปลายเท้าแยกจากกันเล็กน้อย วางแขนไว้ข้างลำตัวอย่างสบายๆ หงายฝ่ามือขึ้น หลับตาลงเบาๆ • อาจเปิดเพลงบรรเลงที่มีท่วงทำนองผ่อนคลายและช่วยให้จิตใจสงบคลอเบาๆ • พูดน้อมนำจินตนาการ ให้ผ่อนคลายร่างกายไปทีละส่วน โดยใช้เสียงนุ่มนวล ปรับโทนเสียงให้ต่ำเล็กน้อย พูดเป็นจังหวะเนิบช้า เว้นวรรคเป็นช่วงๆ และลากปลายเสียงให้ยาวขึ้น เพื่อปรับคลื่นสมองให้ช้าลงและเข้าสู่ภาวะผ่อนคลายได้ง่าย • อาจเริ่มจากการกล่าวว่า ขณะหายใจเข้า-ออก ให้ระลึกรู้ถึงร่างกายทั้งหมดที่นอนราบลง รู้สึกถึงร่างกายทุกส่วนที่สัมผัสพื้นหรือเตียง ปล่อยวางความเครียด ความกังวลทั้งหลายทั้งปวง ไม่ยึดเหนี่ยวสิ่งใดไว้ แล้วให้ระลึกรู้ลมหายใจเข้าและออกอย่างมีสมาธิสักพักหนึ่ง • หายใจเข้า ให้ระลึกรู้ที่เท้าทั้งสองข้าง... หายใจออก ผ่อนคลายเท้าทั้งสองให้รู้สึกเบา สบาย... หายใจเข้า ส่งความรักและปรารถนาดีไปให้... หายใจออก ส่งรอยยิ้ม ความรู้สึกซาบซึ้งใจ และคำขอบคุณไปให้เท้าทั้งสองที่ยืนหยัดเพื่อเราเสมอ • พูดนำให้ระลึกรู้และผ่อนคลายอวัยวะทุกส่วน โดยอาจเริ่มจากปลายเท้า ขึ้นมาที่ขาทั้งสองข้าง สะโพก ลำตัว แผ่นหลัง บ่าทั้งสองข้าง แขน ฝ่ามือ ต้นคอ ขึ้นไปที่ศีรษะ เริ่มจากคาง ริมฝีปาก แก้ม เบ้าตา หว่างคิ้ว หน้าผาก จนทั่วทั้งใบหน้า (หรืออาจไปถึงกลางกระหม่อมด้วย แล้วแต่เราจะกำหนดการระลึกรู้อวัยวะส่วนต่างๆ อย่างละเอียดแค่ไหน) ให้รู้สึกว่าร่างกายทุกส่วนผ่อนคลาย เบา สบาย • หากในขณะนั้นมีส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายป่วยหรือเจ็บปวดอยู่ ให้ใช้เวลาระลึกรู้ถึงส่วนนั้น แล้วส่งความรักไป • หายใจเข้า... ให้ส่วนนี้ได้พัก หายใจออก... ยิ้มให้ด้วยความรักความปรารถนาดีอย่างจริงใจ ระลึกรู้ว่ายังมีส่วนอื่นๆ ของร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์อยู่ ซึ่งพร้อมจะส่งพลังมายังส่วนที่อ่อนแอหรือเจ็บป่วย ให้รู้สึกว่ามีพลังความรักความเกื้อหนุนจากส่วนอื่นๆ ของร่างกาย (และจากผู้คนที่แวดล้อม) แผ่ซ่านเข้ามาช่วยบรรเทาและเยียวยาบริเวณที่อ่อนแอนี้ • หายใจเข้า... เชื่อมั่นในความสามารถที่จะเยียวยาของตนเอง หายใจออก... ปล่อยความวิตกกังวล หรือความกลัวที่อาจเกาะกุมอยู่ในตัวออกไป หายใจเข้า-ออก... ยิ้มให้แก่ร่างกายส่วนที่ไม่สบาย ด้วยความรักความเชื่อมั่น • อาจพูดนำจินตนาการให้นึกถึงธรรมชาติที่งดงาม เช่น ทุ่งหญ้าเขียวขจี ฟ้าใส สายน้ำกว้างใหญ่ ฯลฯ ที่จะช่วยให้ใจสงบ เพื่อน้อมนำให้รับพลังชีวิตจากธรรมชาติมาเยียวยาตัวเราก็ได้
กิจกรรมช่วงเช้า ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ จิตศึกษา เป้าหมายของกิจกรรมในวันนี้ คือ การให้นักเรียนได้เห็นคุณค่าของตัวเองและคนรอบข้าง กิจกรรมจากการสังเกต ๑. นักเรียนทุกคนนั่งเป็นวงกลม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับทำกิจกรรม ๒. ครูเริ่มแจกกระดาษเป็นวงกลม แล้วพูดเสริมให้กำลังใจ เช่น ขอบคุณนักเรียนที่รอ ขอบคุณนักเรียนที่น่ารักรู้จักขอบคุณเพื่อน เป็นต้น ๓. ครูให้นักเรียนวาดรูปที่สื่อถึงตัวเอง หรือหากใครไม่วาดก็เขียนชื่อตัวเอง ๔. ครูให้นักเรียนเขียนชื่นชมตัวเอง หรือบอกข้อดีของตนเอง ๕. ครูให้นักเรียนทุกคนวนกระดาษของตัวเองแล้วให้เพื่อนเขียนชื่นชม เจ้าของกระดาษ วนจนกระดาษกลับมาอยู่ที่ตัวเอง ขณะวนกระดาษครูก็พูดเสริมแรงตบอดเวลา เพื่อกระตุ้นนักเรียนและให้กำลังใจ ๖. ให้นักเรียนอ่านข้อความที่เพื่อนเขียนให้ แล้วให้กระดาษนั้นไว้กับตัวเอง สิ่งที่เราสามารถนำไปกับโรงงเรียนตัวเองได้ กิจกรรมเป็นกิจกรรมที่ดีมาก อุปกรณ์หาง่ายแล้วใก

วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การเรียนการสอนในช่วงบ่าย

ดูงานที่ รร ลำปลายมาศ

มาเรียนรู้ กับโรงเรียนลำปลายมาศ

วันแรกของการเดินทางมาที่โรงเรียนลำปลายมาศ สิ่งที่ได้เรียนรู้ ๑. ได้เรียนจิตศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๑ เป็นการใช้อุปกรณ์ที่มีรอบตัวให้นักเรียนได้เรียนรู้ เช่น กิ่งไม้ ก้อนหิน ใบไม้ เพื่อให้นักเรียนได้สัมผัสของจริง ๒. คุณครูได้กระตุ้นด้วยคำถามเพื่อให้เกิดจินตนาการ เช่น สิ่งที่อยู่ตรงหน้ามีลักษณะคล้ายกับอะไร ถ้าไม่มาสิ่งเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ๓. พฤติกรรมของครู ครูให้กำลังใจนักเรียนตลอดเวลา พูดด้วยรอยยิ้ม ให้โอกาสนักเรียนได้ตอบคำถาม ๔. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ กล้าตอบคำถามมาก ถึงบ้างคำตอบอาจไม่ตรงประเด็น แต่ครูก็ให้กำลังใจดีมากกก สิ่งที่คิดว่าจะกลับไปใช้ในโรงเรียน ๑. รอยยิ้มและคำพูดทีีคอยให้กำลังใจนักเรียนตลอด ๒. รูปแบบการใช้จิตศึกษา ที่ใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่รอบๆตัว มาช่วยในการสอน ๓. ลำดับขั้นตอนการสอนจิตศึกษา เริ่มจากง่ายๆ ไปสู่ยาก ยิ่งคำถามกระตุ้นความคิดตลอดเวลา ให้กำลังใจตลอดเวลา
ภาคบ่าย
๑.ได้เรียนรู้ Body Scan จากชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ การทำ Body Scan เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมนักเรียนเพื่อการนำไปสู่การเรียนในภาคบ่าย โดยเริ่มจากการให้นักเรียนทั้งหมดในห้องนั่งเป็นวงกลม แล้วครูค่อยเรียกชื่อที่ล่ะคนให้ค่อยๆนอนลง พร้อมมือทั้ง ๒แนบลำตัว ขายืนตรง พอนักเรียนทุกคนนอนลง ครูค่อยเล่านิทาน แล้วให้นักเรียนจินตนาการว่าตัวเองเป็นละครในนิทาน ครูค่อยๆเล่านิทานอย่างช้าๆ จน จบ แล้วครูก็ให้นักเรียนขอบคุณ อากาศที่ให้เราหายใจ ขอบคุณน้ำที่ให้เราได้กินได้ใช้ ขอบคุณร่างกายที่ทำให้สามารถอยู่ได้จนถึงทุกวันดี
๒. วิธีการทำให้นักเรียนสงบและสนใจครู ครูจะพานักเรียนร้องเพลง เพื่อให้นักเรียนพร้อมสำหรับการฟังครู ทุกครั้งที่นักเรียนคุยกันเสียงครูจะพาร้องเพลง พูดด้วยความไพเราะ ไม่ดุเด็ก นักเรียนก็จะสงบลงเอง
๓. การนำเข้าสู่บทเรียน ให้นักเรียนดูวีดีโอเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน และมีการสอดแทรกคำถามตลอดเพื่อให้นักเรียนเกิดการคิด วิเคราะห์ใ้ห้นักเรียนทุกคนได้มีโอกาศตอบ บรรยากาศตลอดชั่วโมงการเรียน มีความสุขทั้งเด็กและครู
๔.การให้นักเรียนได้เรียนรู้จากของจริงและสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวจะทำให้เขาเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น วันนี้นักเรียนเรียนเรื่อง เมล็ดถั่ว นักเรียนเตรียมมาเองจากบ้าน  นักเรียนทุกคนสนุก